มาทำความรู้จัก Positive Parenting

Last updated: 28 พ.ค. 2562  |  3393 จำนวนผู้เข้าชม  | 



"ลูก" เป็นรางวัลชีวิตที่มีค่าสำหรับพ่อแม่ แต่การเป็นพ่อแม่ไม่ใช่เรื่องง่าย พ่อแม่หลายคนรู้สึกถึงความเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้าจากความกดดันที่เกิดขึ้นจากการดูแลลูก พ่อแม่ส่วนมากไม่ได้เตรียมตัวต่อสิ่งเหล่านี้มาก่อน ในขณะที่พ่อแม่ปรารถนาที่จะเลี้ยงดูลูกให้มีความสุข เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี มีความสามารถในการดำเนินชีวิต ทำให้บ่อยครั้งพ่อแม่รู้สึกว่าตนเองหมดหนทางในการดูแลลูกและเกิดความกดดันจนต้องใช้วิธีที่รุนแรงในการจัดการลูก

นี่จึงเป็นที่มาของแนวคิดการเลี้ยงลูกด้วยวิธีทางบวก หรือ (Positive Parenting) การเลี้ยงลูกเชิงบวก เป็นการทำความเข้าใจพัฒนาการตามวัยของเด็ก และเข้าใจธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะจุดประสงค์สำคัญที่สุดของการเลี้ยงลูกเชิงบวก คือ การเข้าใจถึงตัวตนของลูก เพื่อให้เขาได้เติบโตอย่างเต็มศักยภาพตามธรรมชาติของตนเอง ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูกมั่นคง เต็มไปด้วยความรักความเข้าใจกันทำให้เด็กสามารถพัฒนาพฤติกรรมที่ดีขึ้น ทำเป็นคนที่มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงกว่าในทุกๆ ด้านและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นได้

Positive Parenting มี 3 หลักการสำคัญ ที่ควรอยู่ในใจของคุณพ่อคุณแม่อยู่เสมอ นั่นคือ




เพราะพ่อแม่ในยุคปัจจุบันอาจยังไม่มีความเข้าใจพัฒนาการของลูกอย่างแท้จริง การหนุนเสริมพัฒนาการของลูกในแต่ละช่วงวัยอย่างเหมาะสมจึงไม่เกิดขึ้น เมื่อไม่เข้าใจธรรมชาติของลูก บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจทำสิ่งต่างๆที่ขัดขวางพัฒนาการโดยไม่ได้ตั้งใจ





การส่งเสริมลูกตามวัยจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และเรียนรู้อย่างมีความสุข ขณะที่การเร่งเรียนรู้จะทำให้เด็กรู้สึกเหนื่อยและเบื่อหน่ายกับการเรียนรู้ในอนาคต ส่งผลต่อการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้นไป





เด็กแต่ละวัยจะมีพฤติกรรมต่างกัน บางครั้งมีหลายปัจจัยส่งผลทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่มีปัญหาซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรหาทางแก้ไขสาเหตุของปัญหาพฤติกรรมนั้นอย่างตรงจุด แก้ที่การกระทำของลูกไม่ใช่แก้บนความคาดหวังของพ่อแม่ และเข้าใจในพัฒนาการลูก จะแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง


นอกจากนี้ยังอาจเสริมด้วยสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ต้องตระหนักอีก 5 ประการ ได้เเก่

1.การจัดสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและน่าสนใจ สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยมีลักษณะของความปลอดภัยทางกายภาพ และความรู้สึกปลอดภัยด้านจิตใจ

บรรยากาศในครอบครัวที่เต็มไปด้วยความรักความเอาใจใส่ การดูแลตอบสนองความต้องการของลูกอย่างเหมาะสมตามวัย สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยช่วยให้เด็กมีความมั่นคง อบอุ่นใจ กระตือรือร้นที่จะค้นหาเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมต้องมีความน่าสนใจด้วย จะช่วยสนับสนุนให้การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นได้อย่างกว้างขวาง ความน่าสนใจของสิ่งแวดล้อมเกิดจากความหลากหลายของกิจกรรมที่พ่อแม่ทำร่วมกับลูก

2.การกระตุ้นการเรียนรู้ที่เหมาะสม ด้วยการใส่ใจในการเรียนรู้ของลูกทั้งด้านสติปัญญาอารมณ์และสังคม พ่อแม่ควรช่วยให้ลูกเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นเหล่านี้ โดยการสังเกตลูก ส่งเสริมให้ลูกประสบความสำเร็จในการเรียนรู้

3.การฝึกวินัยด้วยความรัก ในการฝึกวินัย พ่อแม่ต้องมีความสม่ำเสมอในการฝึก สนใจพฤติกรรมที่แสดงปัญหาและรีบแก้ไขตั้งแต่ต้น มีวิธีการสอนการปฏิบัติตนที่เหมาะสม การใช้วิธีฝึกที่จริงจังแต่นุ่มนวลทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะมีความรับผิดชอบต่อพฤติกรรมตนเองและสามารถควบคุมดูแลตนเองได้

4.การตั้งความหวัง พ่อแม่มักมีความคาดหวังต่อตัวลูก ซึ่งพ่อแม่ที่เข้าใจจะสามารถยอมรับลูกตามพัฒนาการตามวัย นอกจากอายุและพัฒนาการตามวัย เด็กอาจมีลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างบุคคล การยอมรับและเข้าใจช่วยให้พ่อแม่ฝึกลูกเรียนรู้ทักษะต่างๆ เช่น การขับถ่าย การรับประทานอาหาร การแต่งตัว แต่ถ้าความคาดหวังของพ่อแม่ที่มีต่อลูกเป็นความคาดหวังที่มากเกินไป เช่น ความคาดหวังว่าลูกจะเรียบร้อย เชื่อฟังตลอดเวลา เมื่อลูกไม่เป็นไปตามที่หวัง ทำให้พ่อแม่ผิดหวังและเกิดความขัดแย้งในการดูแลลูก และใช้อารมณ์ในการเลี้ยงดูลูก

5.การดูแลตนเองของพ่อแม่ การเป็นพ่อแม่เป็นเรื่องยาก หากพ่อแม่อยู่ภายใต้อารมณ์ที่เครียด และกังวลใจ แต่พ่อแม่จะพบว่าการดูแลลูกง่ายขึ้น สนุกขึ้น เมื่อพ่อแม่ดูแลตนเองด้วยโดย

5.1 การทำงานเป็นทีม การเป็นพ่อแม่จะเป็นเรื่องง่ายขึ้น ถ้าพ่อแม้เห็นพ้องต้องกันในการฝึกวินัยลูก และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พ่อแม่ควรได้พูดคุยปรึกษาหารือเรื่องการเลี้ยงดู

5.2 หลีกเลี่ยงการทะเลาะกันต่อหน้าลูก เด็กจะอ่อนไหวต่อความขัดแย้งของผู้ใหญ่ โดยเฉพาะการทะเลาะกันบ่อยๆ ที่ไม่มีข้อยุติ หากมีปัญหาพ่อแม่ควรมีเวลาปรึกษาหารือกันตามลำพัง

5.3 หากำลังใจ พ่อแม่ทุกคนต้องการกำลังใจจากคู่สมรส ครอบครัว เพื่อนหรือแม้แต่เพื่อนบ้าน การพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้สึกจะช่วยได้มาก

5.4 หาเวลาพัก การหาเวลาส่วนตัวเพื่อพักผ่อนเป็นเรื่องที่ทำได้ ควรหาคนดูแลลูกที่ไว้ใจได้และใช้เวลาพักร่วมกันระหว่างพ่อแม่



Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้