Last updated: 28 พ.ค. 2562 | 17981 จำนวนผู้เข้าชม |
ความภาคภูมิใจในตนเอง หรือ (Self-Esteem) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตและนำไปสู่ความสำเร็จในอนาคตของลูก ทั้งการมีทัศนคติที่ดี, การนับถือตนเอง ที่สำคัญยังทำให้สามารถแก้ปัญหาเเละรับมือกับอุปสรรคต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้อย่างมีความสุข
ซึ่งจำเป็นที่พ่อแม่จะต้องค่อยๆสร้างความภาคภูมิใจในตนเองให้ลูกตั้งแต่ขวบปีแรก เพื่อให้เด็กเกิด Self-Esteem และเชื่อมั่นในคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
เด็กจะเกิด Self-Esteem ได้อย่างไร ?
Self-Esteem เกิดขึ้นผ่านการเรียนรู้และประสบการณ์ต่างๆ อย่างการตอบสนองจากผู้อื่น โดยเฉพาะพ่อแม่, ครู และเพื่อน รวมถึงความสำเร็จของเด็กต่อกิจกรรมหรืองานต่างๆ ซึ่งการสร้างความภาคภูมิใจให้ลูกไม่ใช่เรื่องยาก เพียงพ่อแม่ใส่ใจและเริ่มต้นตั้งแต่เจ้าตัวน้อยลืมตาดูโลกจนเติบโต
เด็กแรกเกิด ขวบปีแรก
พ่อแม่ต้องให้ความรักความอบอุ่น เช่น ให้นมเมื่อลูกหิว เล่นตามที่ลูกต้องการ ฯลฯ จะช่วยให้เด็กรู้สึกดีที่ได้รับความรัก
เด็กวัย 1-3 ขวบ
ฝึกให้ลูกทำอะไรด้วยตัวเอง เมื่อทำสำเร็จเขาจะมั่นใจและภูมิใจในตัวเอง
เด็กวัยอนุบาลและวัยเรียน
มอบหมายงานง่ายๆ และให้เด็กมีกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น จิตอาสาการทำงานร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น
เด็กทุกวัย
พ่อแม่ควรชื่นชมเมื่อลูกทำสิ่งดี ถ้าไม่ดีให้ชี้แนะ อย่าต่อว่าซ้ำๆ และเป็นแบบอย่างที่ดี ลูกจะเรียนรู้และซึมซับสิ่งที่พ่อแม่เป็น
1. กระตุ้นให้แสดงความคิดเห็นที่แตกต่างจากความคิดผู้ใหญ่
4. ให้เด็กทำตามวิธีของตัวเองมากที่สุด
ทั้งการแก้ปัญหา การตัดสินใจ หรือทำสิ่งใดๆ โดยที่พ่อแม่เข้าไปยุ่งให้น้อยที่สุด แต่ให้เวลาที่เหมาะสม เมื่อเด็กทำสำเร็จและได้รับการยอมรับจากพ่อแม่ก็จะเกิดความรู้สึกพิเศษ พอใจ และมีคุณค่า
5. มอบโอกาสให้เด็กแสดงออกอย่างสร้างสรรค์
พ่อแม่ควรหาวัสดุสิ่งของให้เพียงพอต่อการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ของลูก เช่น กระดาษ, สี, พู่กัน, ดินน้ำมัน เป็นต้น รวมทั้งข้าวของไม่ใช้แล้วที่ดัดแปลงได้ เช่น เด็กอาจนำลังกระดาษมาต่อเป็นบ้าน เพื่อช่วยพัฒนาความสร้างสรรค์ให้ก้าวหน้าหรือให้เล่าเรื่องที่โรงเรียน ทั้งหมดนี้ช่วยให้เด็กแสดงออกอย่างสร้างสรรค์มากขึ้น
6. ให้เวลาเด็กแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ในสิ่งที่สนใจ
โดยที่พ่อแม่ต้องไม่บังคับให้ทำตามรูปแบบหรือเวลาที่กำหนด อย่าขัดจังหวะและคำนึงถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องมากไป เพราะเด็กจะเห็นทุกอย่างสร้างสรรค์ เช่น ท่อนไม้ ฝากระป๋อง แกนกระดาษ ฯลฯ นำมาใช้เป็นสื่อเพื่อการแสดงออกได้ นอกจากนี้ หนังสือในห้องสมุดและรายการทีวีที่เหมาะสมสำหรับเด็กก็เป็นเครื่องกระตุ้นให้เด็กแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ได้
7. ติเพื่อก่อ อย่าให้เสียน้ำใจ และเลี่ยงการเยาะเย้ยถากถาง
เพราะอาจทำให้เด็กไม่กล้าแสดงออกและรู้สึกว่าความสามารถของตนไม่ได้รับการยอมรับ พ่อแม่ควรคิดเสมอว่า ควรตัดสินเด็กจากการกระทำ ไม่ใช่ลักษณะนิสัย บุคลิกภาพส่วนรวมของเด็ก เพราะหากเด็กฝังใจ ความรู้สึกนั้นจะอยู่ไปตลอดชีวิต และถ้าเด็กสนใจอะไรเป็นพิเศษ ควรให้การสนับสนุนและอย่าดูถูกความสามารถของเด็กหรือเย้ยหยันความคิดเด็ดขาด
8. สอนให้เด็กมีวินัย เคารพกฎกติกา ให้คำแนะนำและหาวิธีให้เด็กแสดงออกเหมาะสม
อย่าลงโทษเพราะเด็กทำอะไรผิด แต่ให้ดูว่าผิดอย่างไร เช่น ส่งเสียงดังในห้องของเด็กไม่ผิด แต่ถ้ามีแขกมาแล้วส่งเสียงดังที่ห้องรับแขกถือว่าผิด เป็นต้น และพ่อแม่ควรแนะนำให้เด็กทำงานหรือเล่นโดยไม่รบกวนผู้อื่น คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ท่ามกลางคนหมู่มากต้องอดทน และหากพ่อแม่แสดงทางเลือกที่เหมาะสมแล้วเด็กเลือกมาปฏิบัติตาม ก็ควรแสดงการยอมรับและชมเชยความสำเร็จที่เกิดขึ้นของลูกด้วย
9. ชมเชยทุกครั้งที่เด็กทำดี
เพราะเด็กที่รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้ดีพิเศษอะไรจะไม่กล้ารับคำชมเชยเมื่อทำสำเร็จหรือทำความดี และจะอายและกลัวคำนินทาจากคนอื่น พ่อแม่ควรหาคำชมเชยหรือยกย่องเป็นการส่วนตัว เพื่อแสดงให้เห็นว่าความสำเร็จของลูกเป็นเรื่องใหญ่และน่าประทับใจ
10. สอนเด็กให้เป็นคนดีมีคุณธรรม
เด็กที่มีคุณธรรมสูงจะรู้สึกพิเศษต่างจากผู้อื่น แม้ไม่ได้วิเศษในด้านอื่น เช่น การเรียน, กีฬา, ฐานะ ฯลฯ พ่อแม่จึงควรฝึกอบรมคุณธรรม อย่างความซื่อสัตย์ เมตตากรุณา ไม่อิจฉาริษยา เห็นอกเห็นใจผู้อื่น เป็นต้น รวมทั้งฝึกให้เด็กเมตตาต่อสัตว์ด้วย
11. สอนลูกให้มองโลกแง่ดี คิดบวก
ฝึกให้สังเกตจุดดีของผู้อื่น พูดชมเชยแบบจริงใจ ยิ้มอยู่เสมอ หาจุดเด่นตัวเองเพื่อให้เกิดความรักในศักดิ์ศรี ช่วยเหลือคนอื่น และเสียสละเพื่อส่วนรวม โดยไม่ต้องกลัวว่าคนอื่นจะไม่รักหรือทอดทิ้ง
12. มีเวลาให้กับลูก
พ่อแม่ควรมอบหน้าที่ให้ลูกฝึกฝน มีเวลาและสนใจลูก รวมถึงกิจกรรมที่ลูกทำ ให้คำแนะนำเมื่อจำเป็นหรือลูกต้องการ ลูกจะได้อุ่นใจว่าพ่อแม่อยู่ข้างเขา รักและปรารถนาดีเสมอ ซึ่งจะทำให้เด็กรู้สึกมีคุณค่า
นอกจาก 12 เทคนิคดีๆที่ช่วยสร้างความภูมิใจในตนเองได้อย่างดีเเล้ว ยังมีสิ่งที่บั่นทอน Self-Esteem "ที่ไม่ควรพูดกับลูกโดยเด็ดขาด" เช่น
.......................................
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
- หนังสือรู้ทันปัญหาวัยรุ่นยุคใหม่ โดยชมรมสุขภาพวัยรุ่นราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
- บทความการสร้าง Self-Esteem ในเด็กและวัยรุ่นบนฐานความเข้าใจด้านพัฒนาการ โดย เกียรติยง
ประวีณวรกุล นักจิตวิทยาคลีนิค
- เอกสารเคล็ดลับสร้าง Self-Esteem ตามวัย จากเว็บไซต์คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- บทความ 5 วิธีเสริมสร้างความภูมิใจให้ลูก จากเว็บไซต์สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
27 ก.ย. 2563
24 มิ.ย. 2562
24 ก.ย. 2563