ทำไมสีเทียนจึงควร "ปลอดภัย" สำหรับเด็ก

Last updated: 20 ก.ค. 2563  |  8371 จำนวนผู้เข้าชม  | 

 หากจะตัดสินใจเลือกสีเทียนซักกล่อง สำหรับศิลปินตัวน้อยประจำบ้าน ผู้ปกครองหลายท่านอาจใช้ราคาเป็นเกณฑ์สำคัญในการตัดสินใจซื้อ ซึ่งอาจได้สีที่คุณภาพดี ระบายง่าย ให้สีสันที่สดใส เเต่อาจได้ของเเถมอย่างสิ่งเเปลกปลอม ที่ใครๆก็ไม่อยากได้ อย่าง สารเคมีที่มีพิษต่อร่างกายของเด็กๆ


จากการสุ่มตรวจ ของสำนักงานการเเข่งขันทางการค้าเเละคุ้มครองผู้บริโภคประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ ACCC สุ่มตรวจสีเทียนบางยี่ห้อ เเละตรวจพบสารเคมีที่เป็นอันตราย เช่น เเร่ใยหิน, สารหนู, เเบเรี่ยม, โครเมี่ยม, ปรอทเเละตะกั่วในปริมาณเล็กน้อย เเต่ในขณะเดียวกัน บางยี่ห้อที่ตรวจพบก็มีค่าเกินมาตรฐาน ซึ่งสารเคมีที่เป็นอันตรายเหล่านี้ หากได้รับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากอาจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กๆได้ เช่น

เเร่ใยหิน 
เเม้ไม่เป็นอันตรายหากไม่ถูกหลอมละลาย เเต่ก็ไม่รับประกัน หากสีที่ผสมเเร่ใยหินนี้ เเตก, หักร่อนเป็นชิ้นเเละเข้าสู่ร่างกายผ่านทางปาก

สารโลหะหนัก
เช่นสารหนู, ตะกั่ว, โครเมี่ยม นิยมใช้เพื่อทำให้สีมีความสดใส คงตัว ซึ่งหากได้รับในปริมาณมากเป็นเวลานาน อาจทำให้ปัญญาอ่อน พัฒนาการช้ากว่าเด็กทั่วไป

ปรอท 
ทำลายสมอง มีผลต่อการเคลื่อนไหว การมองเห็นเเละการได้ยิน

ข้อกำหนดค่าสูงสุดของปริมาณโลหะหนักในสีเทียน

พลวง 250 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
สารหนู 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
แบเรียม 250 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
แคดเมียม 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
โครเมียม 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ตะกั่ว 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ปรอท 25 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ซิลิเนียม 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, ppm

หากไม่เเน่ใจว่าสีที่กำลังเลือกซื้อนั้น ปลอดภัยสำหรับเด็กๆหรือไม่ ให้สังเกตุเครื่องหมายการค้า ดังต่อไปนี้ครับ

AP : ( Approved Product) หมายถึงปลอดภัย ไม่อันตรายแม้จะเผลอเอาเข้าปาก ซึ่งสถาบัน (ASTM) ให้ใช้เป็นฉลากบนสีที่ "ไม่มีส่วนผสมที่เป็นพิษ" และไม่มีส่วนผสมที่ระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจมนุษย์

CE : ย่อมาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า ”Conformite Europeene” ซึ่งมีความหมายเดียวกับคำใน ภาษาอังกฤษคือ “European Conformity” เดิมทีใช้เครื่องหมาย EC แต่ภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็นเครื่องหมาย CE อย่างเป็นทางการเมื่อปี 2536

CE เป็นมาตรฐานที่ใช้รับรองการผลิตทุกชนิดในสหภาพยุโรป ซึ่งประกอบด้วย ข้อกำหนดด้านสุขภาพ, ความปลอดภัย, สิ่งเเวดล้อม, ให้เป็นไปตามกฎหมายที่ทางสหภาพยุโรปได้กำกับไว้

นอกจากนี้ ยังมี CP (Certify Product) หมายถึงผลิตภัณฑ์นั้นปลอดสารพิษ เเละ HL (Health Label) แสดงถึงผลิตภัณฑ์นั้น ผ่านการทดสอบทางการแพทย์แล้วว่าปลอดภัยต่อสุขภาพ อาจจะปลอดภัยแม้จะเข้าปาก รวมถึงปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม เป็นต้น

โดยปกติเเล้วมาตรฐานความปลอดภัย ทั้ง AP เเละ CE จะมี 2 สถาบันที่ทำงานร่วมกัน โดยทำการจัดประเภทความปลอดภัย ซึ่งจะพิจารณาตามมาตรฐานความปลอดภัยของ American Soceity for Testing and Materials หรือ (ASTM) ซึ่งเดิมเป็นองค์กรการกุศลของอเมริกา ส่วนสถาบันที่ให้การรับรอง คือ Art and Craft Materials Institute หรือ (ACMI) นั่นเอง

อ่านมาถึงตรงนี้ ผู้ปกครองคงได้ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อใช้พิจรณาการเลือกสีเทียนให้เด็กๆได้อย่างมั่นใจ ปลอดภัยไร้สารพิษมากขึ้นนะครับ

เครดิตข้อมูล
- กฎหมายควบคุมมาตรฐานโดยกระทรวงอุตสาหกรรม
- http://siamdiecut.com
- สำนักงานการเเข่งขันทางการค้าเเละคุ้มครองผู้บริโภคประเทศสหรัฐอเมริกา ACCC


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้