Last updated: 28 พ.ค. 2562 | 2210 จำนวนผู้เข้าชม |
ตอนที่ลูกทำผิดพ่อเเม่ที่ขาดสติ มักไม่บอกลูกว่าเค้าทำผิดตรงไหน เเต่กลับดุด่าเเละตำหนิทันที โดยคิดว่าการทำเเบบนั้น จะทำให้ลูกจดจำคำสั่งสอนเเละต่อไปจะไม่กล้าทำผิดอีก เเต่ทราบหรือไม่!!! ผลลัพธ์นั้นอาจไม่เป็นไปตามที่พ่อเเม่คาดเอาไว้ ถ้าลูกไม่รู้ว่าการทำสิ่งนั้นผิดตรงไหนจากส่วนลึกในจิตใจ เขาจะไม่สามารถเเก้ไขข้อบกพร่องเเละเข้าใจในสิ่งที่พ่อเเม่ต้องการสั่งสอนได้เลย
เเล้วพ่อเเม่ ....จะชี้ให้ลูกเห็นความผิดที่เกิดขึ้นนั้นอย่างไร ?
1. ชี้ให้เห็นจุดที่ผิดที่ชัดเจน
ไม่ว่าจะพบเจอปัญหาใดๆเกี่ยวกับลูก พ่อเเม่ไม่ควรตำหนิลูกทันที โดยไม่สอบถามต้นสายปลายเหตุ ควรพิจรณาปัญหาจากบริบทโดยรอบเเละควรชี้ให้เห็นถึงความผิดที่เกิดขึ้น เช่น เล่นกับเพื่อนเเล้วไม่ระวังจนทำให้เพื่อนบาดเจ็บจากการเล่นสนุกหรือเล่นอะไรที่ผาดโพน หรือการหยิบสิ่งของไปเล่นเเล้วเกิดความเสียดาย ซึ่งการพูดที่มีเเต่ว่ากล่าวหรือตำหนิ โดยไม่ชี้จุดผิดให้เด็กรู้อย่างชัดเจนเป็นเรื่องๆ จะทำให้เด็กสับสนเเละเเยกเเยะไม่ออกว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำ
2. ดูเจตนาเดิมของลูก
ไม่ว่าลูกทำผิดเรื่องใดย่อมมีเเรงจูงใจเสมอ พ่อเเม่อาจจะพูดกับลูกอย่างตรงไปตรงมา เเล้วสังเกตุว่าลูกคิดอย่างไรที่ทำเเบบนั้น บางทีอาจเกิดจากเจตนาดีในการทำเรื่องที่ผิด ซึ่งเมื่อดูที่เจตนาเเล้วไม่ใช่เรื่องร้ายเเรง พ่อเเม่ควรยอมรับ จากนั้นค่อยชี้เเนะในส่วนที่ไม่เหมาะสมเพื่อหาทางเเก้ไขต่อไป
3. ไม่ควรรื้อฟื้นเรื่องเก่า
เมื่อลูกทำผิด พ่อเเม่ควรยอมรับเเละว่ากล่าวตักเตือนให้จบเป็นเรื่องๆ ไม่ควรรื้อฟื้นเรื่องเก่า หรือเอาเรื่องที่เคยทำผิดนั้น นำกลับมาพูดซ้ำใหม่ สำหรับความผิดที่ผ่านมา เมื่อลูกถูกตำหนิหรือตักเตือนเล้วในเเง่หนึ่งอาจทำให้ลูกรู้สึกบีบคั้นเเเละเกิดความน้อยใจ เพราะคิดว่าพ่อเเม่ไม่เคยจดจำด้านดีของลูกเลย ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความห่างเหินด้านความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวในอนาคตได้
การที่เด็กทำผิด พ่อเเม่ควรดูเจตนาประกอบกับเหตุผลต่างๆรอบด้าน ก่อนตัดสินใจดุด่าว่ากล่าว หรือพูดคำตำหนิเพราะความเคยชิน พ่อเเม่ควรใช้วิธีที่เหมาะสมโดยชี้นำให้เห็นว่าสิ่งใดที่ทำนั้นผิด เเล้วควรเเก้ไขหรือทำอย่างไรจึงจะถูกต้องในสถานะการณ์นั้นๆ ซึ่งจะทำให้เด็กยอมรับเเละเข้าใจได้ง่าย
27 ก.ย. 2563
24 ก.ย. 2563
3 เม.ย 2563
24 ต.ค. 2562